การออกแบบห้องพระ
การออกแบบห้องพระ ห้องพระ ในการออกแบบตกแต่งภายในบ้านเป็นห้องที่ขึ้นอยู่กับความศัทธาของคนในบ้าน เป็นห้องที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ การออกแบบห้องพระ เนื่องจากมีความเชื่อหลายอย่างที่พูดถึง และความเชื่อถือที่เชื่อต่อกันมา (ขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคล) การจัดวางห้องพระ ส่วนหิ้งพระมีทั้งการจัดวางแบบโต๊ะหมู่บูชามีแบบ 4 หมู่, 5 หมู่, 7 หมู่ และ 9 หมู่ แล้วนั้นแต่เมื่อยุคสมัยใหม่ผ่านไปบางทีก็จัดวางแบบเป็นรูปแบบชั้น เรียบง่าย และลดทอนรายละเอียดลง การออกแบบตกแต่ง มีความเชื่อเรื่องการจัดวางและสิ่งที่ห้าม เช่น หันหิ้งพระเป็นทางทิศไหนดี ส่วนมากจะเป็นทิศเหนือหรือหันออกทางหน้าบ้าน (ตามความเชื่อฮวงจุ้ยบางตำรา) ห้ามผนังหิ้งพระติดกับห้องน้ำ วิธีแก้บางความเชื่อให้ทำผนังไม้ขึ้นมาใหม่อีกผนังหนึ่งให้ช่องว่างตรงกลางประมาณ 5-10 เซนติเมตร ห้องพระจะอยู่ชั้นบนสุดของบ้าน ผนังหลังหิ้งพระ ติดหน้าต่างของห้อง จึงออกแบบผนังบานเลื่อนปิดซ่อนหน้าต่างอีกที เมื่อต้องการเปิดหน้าต่างรับแสงและระบายอากาศ ก็สามารถเลื่อนบานซ้ายและขวา เข้าไปเก็บที่ผนังไม้ด้านหลัง ส่วนหน้าบานเลื่อนตกแต่งบานด้วยการเพ้นท์ลายปิดแผ่นทอง ให้เข้ากับการออกแบบโดยรวมของห้องพระ หิ้งพระเป็นแบบชั้นระนาบเดียวกัน (ไม่ได้จัดแบบโต๊ะหมู่บูชา) จัดวางพระประธานไว้ชั้นบน ส่วนผนังด้านข้างซ่อนไฟเส้นผนังหลังหิ้งพระเพ้นท์ลายแผ่นทองคำและแผ่นเงิน บอกเรื่องราวของพระพุทธศาสนา การออกแบบบางครั้งจะใช้ไม้แกะลาย ให้เข้ากับการออกแบบโดยรวมของห้อง ห้องพระถ้ามีพระพุทธรูปที่เก็บสะสมไว้มากทำตู้สูงตอนบนเป็นชั้นโล่งตั้งวางพระพุทธรูป ด้านหลังใช้ไม้แกะลายซ่อนไฟเส้น