การออกแบบ แบบ Open Plan
การออกแบบ แบบ Open Plan ในยุคปัจจุบัน บ้านในเมืองใหญ่ ๆ ส่วนใหญ่จะมีขนาดพื้นที่กระชับ ลดทอนขนาดพื้นที่ให้เล็กลงทำให้การออกแบบบ้าน และการออกแบบตกแต่งภายในแต่ละส่วนจะมีพื้นที่เล็กลง การออกแบบ แบบ open plan ก็เป็นอีกหนึ่งการออกแบบตกแต่งภายใน เพราะการกั้นห้องด้วยผนังแบบถาวรหรือผนังสูงทึบ จะเป็นการแบ่งซอยพื้นที่ให้เป็นห้อง ๆ ทำให้พื้นที่ยิ่งดูแคบลง การจัดวางแปลนพื้น, ผังรวมภายในบ้านเป็นแบบ open plan ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเห็นฟังก์ชั่นหรือพื้นที่ภายในบ้านต่อเนื่องกันหมด เช่น คนที่นั่งในห้องนั่งเล่นเห็น คนที่กำลังเตรียมอาหารในส่วนของห้องเตรียมอาหาร เป็นต้น การจัดวางเฟอร์นิเจอร์บางครั้งเราอาจจะตกแต่งพื้นผิวผนังบิ้วอิน หรือ ผนังตกแต่งให้ดูโปร่งเพื่อแบ่งพื้นที่แต่ละส่วน ส่วนการใช้ตู้เตี้ย (console table) มาแบ่งขอบเขตพื้นที่ให้ดูชัดเจนและใช้งานง่ายขึ้น การออกแบบผนังหัวเตียงให้เตี้ยไม่สูงชนฝ้าเพดานแล้วเลือกใช้หินแกรนิตสีดำตกแต่งพื้นผิวของผนังไม้ให้ดูหนักแน่น และแบ่งขอบเขตของแปลนเฟอร์เจอร์ภายในห้องนอน และขอบเขตของพื้นที่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จัดวางเฟอร์นิเจอร์ โดยใช้ผนังหัวเตียงไม่สูงชนฝ้าให้มีทางเดินและพื้นที่สำหรับใช้งานตู้สูงด้านหลัง ก็จะได้ทางเดินและการ ใช้งานอีกแบบหนึ่ง ห้องทำงานจัดวางเฟอร์นิเจอร์ โดยใช้ Day bed (รูปแบบโซฟาและเตียงนอนผสมผสานรูปแบบกัน ความยาวประมาณที่นอน มีที่กั้น ส่วนหัว, ส่วนท้าย หรือจะมีที่กั้นทั้งส่วนหัวหรือส่วนท้ายแล้วแต่รูปแบบ) มากั้นระหว่างบริเวณห้องทำงานกับ บริเวณห้องพักผ่อน ทำให้ห้องทั้งหมดโปร่งโล่ง […]
การออกแบบตกแต่งภายใน พื้นที่ชั้นลอย
การออกแบบพื้นที่ชั้นลอย พื้นที่ภายในบ้าน มักจะประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ภายในบ้านซึ่งรองรับการใช้งานและวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย บางห้องเชื่อมต่อระหว่างห้องหนึ่งสู่อีกห้องหนึ่ง บ้านที่มีโถงสูงภายในบ้าน บางครั้งจะมีพื้นที่หรือห้องที่เชื่อมต่อกันด้วยการมองเห็น พื้นที่ชั้นลอย เป็นพื้นที่ระหว่างล่างสู่ชั้นบน เป็นพื้นที่ไม่เต็มพื้นที่ทั้งหมด สามารถมองเห็นระหว่างชั้นบนสู่ชั้นล่างได้ ซึ่งการออกแบบบ้านและการออกแบบตกแต่งภายในส่วนของชั้นลอยนั้น พื้นที่ส่วนนี้มักจะออกแบบเป็นพื้นที่หรือห้อง เช่น ห้องทำงาน ห้องสมุด ห้องนั่งเล่น เป็นต้น ชั้นลอยที่เชื่อมต่อระหว่างชั้นล่าง ซึ่งเป็นโถงทางเข้าบ้านกับชั้นสองที่ต่อเนื่องมาจากบันไดหลัก แล้วแยกเข้าสู่ห้องนอนแต่ละห้องภายในชั้นสอง ออกแบบตกแต่งให้เป็นมุมนั่งเล่นหรือมุมอ่านหนังสือ ทำบิ้วอินไม้เป็นชั้นหนังสือหรือชั้นตกแต่ง วางของตกแต่ง แต่ละชั้นไม้และแต่ละช่อง อาจจะซ่อนไฟตกแต่งภายในซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ตอนทำบิ้วอิน ถ้ามองลงไปจากชั้นลอย จะเป็นทางเข้าบ้าน (โถงทางเข้าบ้าน) เป็น double volume อาจจะจัดวางเฟอร์นิเจอร์เป็น ห้องรับแขก หรือ ห้องนั่งเล่น เป็นต้น จะจัดวางเฟอร์นิเจอร์เป็นแบบลอยตัว สามารถขยับย้ายได้ ออกแบบตกแต่งเป็นโต๊ะเตี้ย พร้อมเบาะรองนั่งสำหรับลูกๆ และครอบครัว ให้ความรู้สึกเหมือนโต๊ะญี่ปุ่น แนวความคิดของผู้ออกแบบ ต้องการออกแบบตกแต่งภายในให้มุมนี้เป็นมุมครอบครัวให้มีความรู้สึกเมื่อทุกคนในครอบครัวมาใช้พื้นที่ส่วนนี้แล้วรู้สึกอบอุ่นจึงออกแบบเป็นมุมเตาผิง (fireplace) ใช้หินเทียมสีขาวมาเป็นวัสดุปิดผิวผนัง เพิ่มรายละเอียดของตกแต่งด้วยต้นไม้ เป็นต้น
เทคนิค ออกแบบบันได ราวกันตกรูปแบบกระจก
การออกแบบบันได ราวกันตกแบบกระจก ส่วนของบันไดภายในบ้าน ราวกันตกรูปแบบกระจก เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบถ้าไม่มีเสารับกระจก จะต้องเตรียมหน้างานด้วยการหล่อคอนกรีต หนาประมาณ 10 เซนติเมตร (ตามมาตรฐานการติดตั้ง) จากในรูป ราวกันตกกระจกเทมเปอร์ ถ้ายาวเกินตามมาตรฐานการติดตั้ง ควรแบ่งกระจกและเว้นระยะระหว่างแผ่นกระจก ทำร่องรับกระจกไว้ลึกจากขอบ ร่องลึก 10-15 เซนติเมตร ร่องกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เสริมไม้อัดยางหนา 10 มิลลิเมตร รับใต้กระจกเทมเปอร์ หนา 10 มิลลิเมตร หรือตามมาตรฐานการติดตั้ง แนวความคิดในการออกแบบตกแต่งภายใน อาจใช้ไม้วีเนียร์เพื่อให้เข้ากับการออกแบบตกแต่งภายในและเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน
การออกแบบบันได
การออกแบบบันได ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ชั้นล่างสู่พื้นที่ชั้นบน บันไดเป็นพื้นที่ภายในบ้าน ถ้ามีการออกแบบและการเตรียมหน้างานไว้จะทำให้ส่วนพื้นที่บริเวณบันไดดูโดดเด่นขึ้นมา บันไดภายในบ้านมีหลากหลายรูปแบบและวัสดุ เพราะฉะนั้นการออกแบบ และการเตรียมหน้างานเป็นสิ่งจำเป็น ระยะของขนาดลูกตั้งและลูกนอนที่เหมาะสม ขนาดลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ขนาดลูกนอนไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร เป็นระยะที่ไม่รวมจมูกบันไดซึ่งจะอยู่ที่ระยะ 1 นิ้ว ราวกันตกสูงประมาณ 84-92 เซนติเมตร ราวกันตกมีหลากหลายรูปแบบมีทั้ง ไม้ โลหะ กระจก ซึ่งแต่ละแบบก็มีรายละเอียดลงไปอีกว่าเป็นวัสดุ สี อะไร เช่นบันไดโลหะ ในส่วนของเหล็กที่นิยมใช้จะมีเหล็กกล่อง เหล็กเส้น เหล็กดัดอิตาลี (Wrought Iron) และอื่นๆ (ขึ้นอยู่กับการออกแบบ) ในเรื่องการจัดแสงสว่างให้เพียงพอต่อพื้นที่บริเวณบันไดก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอีกด้วย การเตรียมหน้างาน ถ้าในการออกแบบจะไม่ให้เห็นฝาครอบเหล็กอิตาลีด้านบนแผ่นไม้ลูกนอนบันได เราต้องยึดเหล็กกับพื้นปูนแล้วตั้งเหล็กไว้ก่อนเมื่อเวลาติดตั้งแผ่นไม้บันไดเจาะรูที่แผ่นไม้บันไดก็จะไม่เห็นที่ฝาครอบเหล็กด้านบนแล้ว ภาพก่อนติดตั้งแผ่นไม้บันได ภาพบันไดหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว
การออกแบบห้องพระ
การออกแบบห้องพระ ห้องพระ ในการออกแบบตกแต่งภายในบ้านเป็นห้องที่ขึ้นอยู่กับความศัทธาของคนในบ้าน เป็นห้องที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ การออกแบบห้องพระ เนื่องจากมีความเชื่อหลายอย่างที่พูดถึง และความเชื่อถือที่เชื่อต่อกันมา (ขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคล) การจัดวางห้องพระ ส่วนหิ้งพระมีทั้งการจัดวางแบบโต๊ะหมู่บูชามีแบบ 4 หมู่, 5 หมู่, 7 หมู่ และ 9 หมู่ แล้วนั้นแต่เมื่อยุคสมัยใหม่ผ่านไปบางทีก็จัดวางแบบเป็นรูปแบบชั้น เรียบง่าย และลดทอนรายละเอียดลง การออกแบบตกแต่ง มีความเชื่อเรื่องการจัดวางและสิ่งที่ห้าม เช่น หันหิ้งพระเป็นทางทิศไหนดี ส่วนมากจะเป็นทิศเหนือหรือหันออกทางหน้าบ้าน (ตามความเชื่อฮวงจุ้ยบางตำรา) ห้ามผนังหิ้งพระติดกับห้องน้ำ วิธีแก้บางความเชื่อให้ทำผนังไม้ขึ้นมาใหม่อีกผนังหนึ่งให้ช่องว่างตรงกลางประมาณ 5-10 เซนติเมตร ห้องพระจะอยู่ชั้นบนสุดของบ้าน ผนังหลังหิ้งพระ ติดหน้าต่างของห้อง จึงออกแบบผนังบานเลื่อนปิดซ่อนหน้าต่างอีกที เมื่อต้องการเปิดหน้าต่างรับแสงและระบายอากาศ ก็สามารถเลื่อนบานซ้ายและขวา เข้าไปเก็บที่ผนังไม้ด้านหลัง ส่วนหน้าบานเลื่อนตกแต่งบานด้วยการเพ้นท์ลายปิดแผ่นทอง ให้เข้ากับการออกแบบโดยรวมของห้องพระ หิ้งพระเป็นแบบชั้นระนาบเดียวกัน (ไม่ได้จัดแบบโต๊ะหมู่บูชา) จัดวางพระประธานไว้ชั้นบน ส่วนผนังด้านข้างซ่อนไฟเส้นผนังหลังหิ้งพระเพ้นท์ลายแผ่นทองคำและแผ่นเงิน บอกเรื่องราวของพระพุทธศาสนา การออกแบบบางครั้งจะใช้ไม้แกะลาย ให้เข้ากับการออกแบบโดยรวมของห้อง ห้องพระถ้ามีพระพุทธรูปที่เก็บสะสมไว้มากทำตู้สูงตอนบนเป็นชั้นโล่งตั้งวางพระพุทธรูป ด้านหลังใช้ไม้แกะลายซ่อนไฟเส้น
การตกแต่งบ้านสไตล์คลาสสิก (Classic Style)
Classic style รูปแบบงานศิลปะ ปฎิมากรรม และสถาปัตยกรรมของกรีก และโรมัน ได้รับความนิยมมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ถึง ศตวรรษที่ 19 และต่อเนื่องจากยุค Renaissance มาจนถึงยุค Baroque คือการนำรูปแบบสมัยโบราณมาดัดแปลงสัดส่วนใช้ส่วนโค้ง เป็นที่นิยมในยุโรป ศตวรรษที่ 16 – ศตวรรษที่ 18 และในยุค Rocco คือรูปแบบการตกแต่ง ช่วงศตวรรษที่ 19 การตกแต่งรูปแบบนี้ จะหรูหรา งานตกแต่งจะมีรายละเอียดทุกสัดส่วน พิถีพิถันในการตกแต่ง รูปแบบงานสถาปัตยกรรม classic style จะบงบอกถึง ความหรูหรา โอ่โถง กว้างขวาง รายละเอียดลักษณะของงาน จะใช้ส่วนเส้นโค้ง (Arc) ไม้แกะ ลวดลายแกะสลัก ปิดทอง เช่นทองเหลืองหรือวัสดุที่มีผิววาว ผ้าบุที่ใช้หุ้มชนิดทอหนาหรือกำมะหยี่ การเลือกใช้ของตกแต่งจะใช้ไม้แกะ ปิดแผ่นเงินที่ลาย ใช้ส่วนโค้ง วงกลม เข้ามาเป็นส่วนประกอบในการออกแบบตกแต่งภายใน การตกแต่งด้วยการเพ้นท์ลายหรือการใช้งานศิลปะมาร่วมในออกแบบ เป็นการรวมกันระหว่าง Elegance และ […]
การเลือกกระจกในห้องน้ำ
การเลือกกระจกในห้องน้ำ กระจกในห้องน้ำ ที่ทำหน้ากั้นระหว่างห้องแต่งตัวหรือห้องนอน กับห้องน้ำให้แยกออกจากกันนั้น ส่วนมากมักนิยมเลือกใช้ “กระจกฝ้า” เนื่องจากคุณสมบัติที่ทำให้ห้องดูเปิดโล่ง อย่างมีสไตล์ แต่ก็ยังช่วยพรางสายตาได้พร้อมกันไปในตัวด้วย บานกระจกฝ้า เป็นการพ่นทรายไปที่ผิวของกระจกใส ถึงแม้ว่าแสงสว่างยังส่องผ่านได้บ้าง แต่จะมองไม่เห็นอีกด้านหนึ่ง ถึงจะยืนใกล้กับกระจกฝ้าก็ยังมองไม่ค่อยชัด เนื่องจากผิวกระจก เกิดจากการพ่นทรายทำให้ผิวของกระจกไม่เรียบ ดังนั้นผิวกระจกฝ้าแบบนี้จึงทำความสะอาดยากและเกิดคราบรอยนิ้วมือ เวลาสัมผัสที่ผิวกระจกได้ง่าย เราแนะนำให้พ่นน้ำยาเคลือบผิวกระจกอีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยป้องกันการเกิด Anti fingerprint หรือรอยนิ้วมือ อีกทั้งยังช่วยให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น กระจกฝ้าจะได้ดูสวยงามยาวนาน มุมมองจากในห้องน้ำ ส่วนในรายละเอียดการออกแบบตกแต่งภายในห้องน้ำ โดยมีบานประตูบานไม้ ถ้าอยู่ในส่วนห้องน้ำ ควรติดตั้งบานประตูไว้ระดับพื้นห้อง ไม่ใช่ระดับพื้นห้องน้ำ เพื่อการทำความสะอาดและลดปัญหาไม้บวมในอนาคต และส่วนในห้องน้ำ ควรแยกส่วนแห้งกับส่วนเปียก ออกจากกันให้ชัดเจนโดยจะใช้ระดับพื้นต่างกันหรือกั้นด้วยกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) ก็ได้
ของตกแต่งบ้าน
ของประดับตกแต่งบ้านนั้นมีหลายแบบ หลายประเภท สามารถบ่งบอกสะท้อนสไตล์ ความชื่นชอบ และความสนใจของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี ของตกแต่งบ้านอาจดูเหมือนจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ในการตกแต่งภายใน แต่ก็ช่วยทำให้บ้านดูเติมเต็ม สวยงาม เข้ากับบ้านและเหมาะกับการอยู่อาศัย บางครั้งยังบอกผ่านเรื่องราว ประสบการณ์ ของเจ้าของบ้านอีกด้วย แต่งบ้านด้วยโคมไฟ ส่วนโคมไฟนั้น มีหลายแบบ มีทั้ง โคมไฟระย้า, โคมไฟติดผนัง, โคมไฟเพดาน, โคมไฟติดลอย แต่ละแบบก็แยกย่อยเพิ่มเติมไปตามวัสดุที่นำมาผลิต เช่น แก้วเป่า, คริสตัล, เซรามิก, สแสนเลสและอื่น ๆ ทำให้มีรูปแบบ รวมทั้งขนาดที่แตกต่างกันไป นอกจากนั้นต้องดูเรื่องของแสงไฟให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานด้วย ต้องดูเวลาเปิดไฟแล้วแสงกระทบกับวัสดุที่ทำโคมไฟ เช่น แสงกระทบคริสตัสแล้วเกิดแสงเป็นสีรุ้งแบบไหน โคมไฟ ในส่วนตกแต่งนั้น ขั้นตอนในการเลือกเราควรดูรูปแบบโดยรวม ขนาด เพราะเวลาติดตั้ง “โคมไฟตอนปิดไฟ ก็ยังสวยและเข้ากับบ้าน เปรียบเสมือนเป็นของตกแต่งบ้านชิ้นหนึ่ง” เพราะการออกแบบ การจัดไฟตกแต่ง ควรแยกประเภทและการใช้งานของไฟฟ้าในบ้าน เช่น ออกแบบไฟหลักคือไฟที่เราใช้บ่อย ๆ เวลาเปิดไฟครบทุกดวง เราก็สามารถใช้งานหรือใช้พื้นที่ส่วนนั้นได้ แต่ถ้าเราต้องการเน้นพื้นผนัง พื้นที่ทางเดิน พื้นที่ในส่วนอ่านหนังสือ เราก็เปิดไฟตกแต่งเฉพาะเพิ่มเติมไป […]
การออกแบบโถงทางเข้าบ้าน หรือ Hall entrance
“ โถงทางเข้าบ้าน หรือ Hall entrance ” เป็นพื้นที่ส่วนแรก ที่ผู้มาเยือนหรือแขกของเจ้าของบ้าน รวมทั้งเจ้าของบ้านเอง เปิดประตูบ้านเข้ามาภายในบ้านก็จะพบเจอเป็นพื้นที่แรก ๆ บางครั้งการวางแปลนบ้าน ทำให้บันได ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ส่วนตัวในชั้นบน หันมาอยู่หน้าบ้านจนทุกคนมองเห็นตัวบันไดกันได้ชัดเจน ผู้ออกแบบจึงต้องคำนึงถึงส่วนนี้เป็นพิเศษ ด้วยโจทย์ที่เจ้าของบ้านต้องการเพิ่มความเป็นส่วนตัว ทีมนักออกแบบตกแต่งภายในของเราจึงแก้ไขโดยคำนึงถึงส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่นนี้ “การใช้ไม้ระแนงพลางสายตา” จึงเป็นการแก้ไขเผื่อบังขั้นบันได “การปิดกั้นแต่ไม่ทึบ” ผู้ออกแบบจึงออกแบบให้ไม้ระแนงสูงชนฝ้า เลือกใช้ลายไม้โทนสีอุ่นเผื่อให้ความรู้สึกบ้านที่อบอุ่น แต่ลดสเกลไม้ระแนงด้านบนลง ไม่ให้ไม้ระแนงไม่ดูทึบตันไปแล้วเพิ่มสีพ่นดาให้ดูโมเดิร์น ให้เข้ากับรูปแบบรวมภายในบ้าน การจัดวางไม้ระแนงให้วางเอียงประมาณ 15-30องศาแล้วระยะเว้นท่อนเว้นท่อน ส่วนด้านหลังของไม้ระแนง เป็นตู้บิวอินสูงลายไม้สีและลายเดียวกับไม้ระแนง เผื่อให้กลมกลืน และต่อเนื่องกันไป ตู้ไว้สาหรับเก็บของและเก็บตู้รองเท้า